วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

INTAGLIO PROCESS ปวส.2 (วิชาโท)

วิชาภาพพิมพ์3 (วิชาโท)
ปีการศึกษา 2/2554
............................................................................................
เทคนิค  Line  Etching
++++++++++++++++
การเคลือบเพลท


1. วานิชดำ ผสม กับน้ำมันสน กวนให้เข้ากัน ให้มีความเหลวมากขึ้น
    อาจจะผสมทินเนอร์เล็กน้อยเพื่อให้แห้งเร็วขึ้น
    **ข้อควรระวัง ห้ามให้มีน้ำลงไปผสมโดยเด็ดขาด


 2. ตั้งเพลทให้เอียง  ใช้แปรงขนอ่อนทาจากซ้ายไปขวา (ทาไปทางเดียว ซ้ายไปขวา  หรือขวาไปซ้ายก็ได้)


 3. เมื่อทั่วทั้งแผ่นแล้ว  วางนอนบนพื้นราบ  แล้วรอให้แห้ง 
     เมื่อแห้งแล้ว  ใช้แป้งฝุ่นโปรยบนผิวเพลท ใช้มือลูบให้ทั่ว  เพื่อลดความเหนียวของ
     ผิววานิช

............................................................................................................................................
การลอกแบบจากภาพร่าง Sketch ลงบนเพลท


1. เมื่อได้ภาพร่างที่มีขนาดเท่าเพลทแล้ว (จะด้วยวิธีเขียน หรือพรินต์ก็ได้)


2.ใช้กระดาษไขที่มีขนาดใหญ่กว่าแบบตามตัวอย่าง  ปิดยึดกระดาษไขด้วยเทปบริเวณ
   มุมด้านบน 2 ด้าน  (ด้านล่างเอาไว้เปิดดูว่าลอกลายเส้นครบตามต้องการหรือไม่)

3. ใช้ปากกาลูกลื่น หรือดินสอ  ลอกเส้นตามภาพร่าง  โดยลอกลายเส้นเฉพาะโครงร่าง
    รูปทรงที่ต้องการ  โดยไม่ต้องลอกเส้นน้ำหนักหรือรายละเอียดเล็กๆ


4. เมื่อได้โครงร่างเสร็จแล้ว  ให้นำกระดาษไขนั้น  คว่ำหน้าลงบนเพลท
จัดวางให้ได้พอดี  และยึดกระดาษไขด้วยเทปเพื่อป้องกันการเคลื่อน


5. ใช้ปากกาลูกลื่นลาก  กดเบาๆ ไปตามลายเส้น  จนครบ (ไม่ต้องกดแรง  โดยอาจจะทดลองลากเส้น  แล้วพลิกกระดาษไขดูก็ได้)


6. เมื่อลากเส้นจนครบแล้วเอากระดาษไขออก  ก็จะปรากฎลายเส้นตามแบบ
    อาจจะมองไม่ค่อยชัดนัก  ให้เอาแป้งฝุ่นมาปัดบนผิวเพลท  ลวดลายต่างๆ
    ก็จะชัดเจนขึ้น


7. ใช้เหล็กแหลม (Needle)  ขีด ลาก  ตามลายเส้นที่ปรากฎ  ถ้าต้องการลายเส้น
    ธรรมดา ก็ไม่ต้องใช้แรงขีดมาก  เพียงแค่ขีดเบาๆ  สังเกตจากการเห็นผิวโลหะ
    ก็เพียงพอแล้ว  (เพราะเมื่อขั้นตอนกัดกรด  น้ำกรดจะเข้าทำปฏิกิริยากับโลหะเอง)
    ลักษณะของเส้น  เมื่อกัดด้วยน้ำกรด  ด้วยความเข้มข้น  และเวลาที่เหมาะสม 
    ก็จะได้ลายเส้นที่ละเอียดอ่อนสวยงาม


8. ถ้าต้องการลายเส้นที่ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ก็อาจจะใช้ปลายคัตเตอร์ขีดขูดก็ได้
    (หรือใช้เครื่องมืออื่นๆ  เพื่อเปิดผิววานิชให้เห็นผิวโลหะก็ได้)

 

9.  เขียนเพิ่มน้ำหนัก  ลวดลาย  ฯลฯ  ตามแบบภาพร่าง  จนเสร็จสมบูรณ์
     ก็เป็นอันเสร็จกระบวนการเขียนลายบนเพลทแล้ว
......................................................
ภาพจำลองแสดงกระบวนการกัดกรด








**  ในภาพตัวอย่าง  เป็นเพลทสังกะสีตะกั่ว  การใช้กรด  จะใช้คนละแบบกับ
       ทองแดงที่นักศึกษาใช้
.........................................................................................................................................

นักศึกษา  สามารถดูวีดิทัศน์  สาธิตการทำแม่พิมพ์เทคนิค AQUATINT PROCESS
ได้ตามลิ้งค์ด้านล่างนี้คับ


.............................................................................................................

Suchittra
Knittha
Tanyawaree
Kanokwan
 Precha
Jan 11,12
Feb29,12
+++++++++++++++++++++++++



...........................................................................

1 ความคิดเห็น:

  1. นร. เข้ามาดูแล้ว แสดงตัวสักนิด หรือมีข้อคิดเห็นอย่างไรบ้าง
    กับทุก โพสต์ เชิญได้คับ

    ตอบลบ